วิทยานิพนธ์ (thailis) เรื่องที่2

Title
ทักษะการบริหารที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา ในยุคฏิรูปการศึกษาตามทัศนะของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
Title Alternative
DESIRABLE ADMINISTRATIVE SKILLS OF PRIMARY SCHOOL ADMINISTRATORS IN THE EDUCATION REFORM PERIOD AS PERCEIVED BY THE BASIC EDUCATION SCHOOL

Description
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาระดับทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาในสภาพปัจจุบันและทักษะการบริหารที่พึงประสงค์ ในยุคปฏิรูปการศึกษา เปรียบเทียบทักษะการบริหารในสภาพปัจจุบันและทักษะการบริหารที่พึงประสงค์ ในยุคปฏิรูปการศึกษา เปรียบเทียบทักษะการบริหารที่พึงประสงค์ในยุคปฏิรูปการศึกษา ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา ตามทัศนะของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นเพศชายและเพศหญิง และเพื่อสังเคราะห์ทักษะการบริหารที่พึงประสงค์ในยุคปฏิรูปการศึกษา ตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี จานวน 349 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า (rating scale) 5 ระดับ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น (reliability) เท่ากับ 0.86 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม SPSS for Windows version 10.0 สถิติทีใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบแบบที (t – test) ผลการวิจัยพบว่า ทักษะการบริหารตามสภาพปัจจุบันของผู้บริหารอยู่ในระดับมาก ทั้งใน ภาพรวมและรายด้าน เรียงตามลาดับค่าเฉลี่ยเป็นรายด้านคือ ด้านมนุษยสัมพันธ์ ด้านความคิดรวบยอด ด้านความรู้ความเข้าใจ ด้านการเรียนการสอน และด้านเทคนิค ส่วนทักษะการบริหารที่พึงประสงค์ในยุคปฏิรูปการศึกษา ของผู้บริหารอยู่ในระดับมากทั้งในภาพรวมและรายด้าน เรียง ตามลาดับค่าเฉลี่ยคือ ด้านการเรียนการสอน ด้านมนุษยสัมพันธ์ ด้านความรู้ความเข้าใจ ด้านความคิดรวบยอดและด้านเทคนิค ผลการเปรียบเทียบทักษะการบริหาร ในสภาพปัจจุบันและทักษะการบริหาร ที่ พึงประสงค์ แตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ส่วนผลการเปรียบเทียบทักษะ การบริหารที่พึงประสงค์ ในยุคปฏิรูปการศึกษาของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาตามทัศนะของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเพศชายและเพศหญิงไม่แตกต่างกัน ส่วนทักษะการบริหารที่พึงประสงค์ ตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐานที่มีความถี่สูงสุด ในแต่ละด้านเรียงตามลาดับได้แก่ ด้านมนุษยสัมพันธ์คือ เป็นผู้เสียสละเพื่อสร้างศรัทธาความเชื่อถือจากชุมชน ด้านการเรียนการสอนคือ การนาภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้อย่างจริงจัง ด้านความรู้ความเข้าใจคือ สามารถให้คาปรึกษา แนะนาแก่ผู้ใต้บังคับบัญชาได้เป็นอย่างดี ด้านเทคนิคคือ นาเทคนิคใหม่ๆมาใช้ในการบริหาร และด้านความคิดรวบยอดคือ วิเคราะห์และ แก้ปัญหาได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
Publisher
Kanchanaburi Rajabhat University.
Address: KANCHANABURI
Email: tdc@kru.ac.th
Date
Issued: 2548
Modified: 2554-09-17
Issued: 2554-09-17
Type
บทความ/Article
Format
application/octet-stream
Language
tha
Rights
©copyrights มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี

ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม